ภาค 2
ประมวลเอกสารจดหมายเหตุ
และราชกิจจานุเบกษา
พ.ศ.
2411 – 2509
ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
คำชี้แจง ภาค 2
ภาค 2 เป็นการประมวลเอกสารจดหมายเหตุแห่งชาติและประกาศราชกิจจานุเบกษาตามลำดับวัน/เดือน/ปีที่ปรับเป็นปัจจุบันทั้งหมด เกี่ยวกับราชการด้านการแพทย์
การสาธารณสุขและเหตุการณ์บ้านเมืองที่เกี่ยวข้อง
โดยคัดความโดยย่อจากเอกสารจดหมายเหตุและราชกิจจา-นุเบกษา มีส่วนที่ควรทำความเข้าใจดังนี้
1. เอกสารจดหมายเหตุ
เอกสารจดหมายเหตุที่เก็บรักษาอยู่ที่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
คือ เอกสารว่าราชการของพระมหากษัตริย์ รัฐบาล และกระทรวงต่าง ๆ
จัดเป็นเอกสารชั้นต้นเช่นเดียวกับประกาศราชกิจจานุเบกษา
แต่เดิมกรมพระอาลักษณ์ทำหน้าที่เก็บเอกสารหลวง จนกระทั่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้เจ้าพนักงานเก็บรักษาเอกสารราชการเหล่านี้ไว้ให้เป็น Archive (เอกสารจดหมายเหตุ) เช่นเดียวกับในต่างประเทศ
จึงมีการจัดเก็บเอกสารตามแบบประเทศตะวันตก เอกสารว่าราชการในสมัยรัชกาลที่ 5
ทั้งหมดจึงถูกเก็บรักษาไว้ แต่ด้วยระยะเวลาที่ผ่านมายาวนาน
อาจทำให้ชำรุดและสูญหายไป
แต่เอกสารที่เหลืออยู่มีจำนวนมากพอที่จะแสดงลำดับเหตุการณ์ในอดีตได้เกือบสมบูรณ์
ในส่วนของเอกสารที่เกี่ยวกับหนังสือกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์นั้น
จัดเก็บโดยกรมราชเลขานุการ ซึ่งก่อตั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ระยะแรกเรียกว่า ออฟฟิศไปรเวตสิเกรตารีหลวง
หรือกรมราชเลขาธิการ เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการเลขานุการในพระองค์
งานหนังสือที่หน่วยงานราชการและบุคคลส่งเข้ามา
เพื่อขอให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลในเรื่องต่าง ๆ แล้วแต่กรณี รวมทั้งรับพระราชกระแส
พระราชวินิจฉัยเพื่อเชิญไปยังหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ลักษณะของการทำงานภายในกรมราชเลขานุการนั้น
หลวงสุนทรนุรักษ์
(กระจ่าง วรรณโกวิท) บันทึก ความทรงจำเมื่อครั้งรับราชการภายในกรมราชเลขานุการ เมื่อ พ.ศ. 2451 ว่า
...กรมราชเลขานุการเป็นกรมอิสระตั้งอยู่บนพระปรัศวร์ซ้ายของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
เมื่อได้ทรงสร้างพระราชวังดุสิตและประทับอยู่ที่พระที่นั่งอัมพรสถาน
จึงได้แยกมาตั้งที่ทำงานที่ท้ายพระที่นั่งอภิเศกดุสิต
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ทรงเป็นราชเลขานุการ
เทียบเท่าเสนาบดีเจ้ากระทรวง มีผู้ช่วยราชเลขาอีก 3 คน
บิดาข้าพเจ้าเป็นผู้ช่วยด้วยคนหนึ่ง เจ้าหน้าที่ต้องมีอยู่ประจำตลอด 24 ชั่วโมง
โดยแบ่งเป็นเวร เวรเช้าเวรบ่าย เวรกลางคืน และอยู่นอกเวร...ราชการกรมนี้เป็นที่รวมบรรดาราชการทุกกระทรวงกรม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
449 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
เทียบเท่ากับเป็นนายกรัฐมนตรี
มีพระราชภาระที่ต้องพระราชวินิจฉัยบรรดาหนังสือราชการที่มีมาถึง
ต้องนำขึ้นกราบบังคมทูลทั้งสิ้น หนังสือที่มีมาจากเจ้ากระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ นั้น
เจ้าหน้าที่จะเปิดซอง แล้วย่อข้อความในหนังสือนั้นบนหัวซองด้วยดินสอ
เว้นแต่หนังสือซองเล็กหรือเฉพาะก็ส่งขึ้นทูลเกล้าฯ ทั้งซอง
มีเจ้าหน้าที่อีกพวกหนึ่งจะนำข้อความที่ย่อหัวซองไปพิมพ์ในกระดาษพิมพ์เป็นกระทรวง
ๆ เว้นหน้ากระดาษประมาณ 4 นิ้ว (ฟุตโน้ต) ส่งขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เมื่อพระราชทานกลับออกมา เรื่องใดมีพระราชกระแสอย่างไรก็ทรงมาในฟุตโน้ตสั้น
ๆ เช่น ของพระราชทานอะไรต่าง ๆ ก็จะทรงมาว่าให้อนุ. นอกจากนั้นก็จะมีพระราชกระแสในราชการบางอย่างทรงร่างมา
เจ้าหน้าที่ก็ตัดเอาพระราชกระแสไปปิดในต้นฉบับหนังสือนั้น ๆ
แล้วทำตอบไปยังเจ้ากระทรวงที่มีมา ต้นฉบับหนังสือเหล่านี้ รวบรวมกลัดเป็นปึกไว้ส่วนหนึ่ง
เรียกว่า หนังสือรายวัน...
การส่งหนังสือออกไปจากกรมนี้
แบ่งออกเป็น 2 อย่าง เรียกว่า ร. อย่างหนึ่ง
เป็นพระราชหัตถ์ของพระเจ้าอยู่หัว จะต้องเขียนลงกระดาษไม่มีบรรทัดด้วยหมึกก๊อบปี้
อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า ส. คือเป็นหนังสือของกรมพระสมมตฯ ใช้พิมพ์ดีด
หนังสือทั้ง 2 อย่างนี้ เมื่อได้ลงพระปรมาภิไธยและทรงเซ็นแล้ว
เจ้าหน้าที่ต้องนำไปอัดในสมุดก๊อบปี้เป็นสำเนาไว้...(1)
พ.ศ.
2475
เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย
เอกสารราชการเหล่านี้ได้ถูกคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศนำไปเก็บไว้ ต่อมา พ.ศ. 2495 รัฐบาลจัดตั้ง “กองจดหมายเหตุ
กรมศิลปากร” ขึ้นมาใหม่
สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงได้มอบเอกสารทั้งหมดให้กับกองจดหมายเหตุฯ
ในระยะแรก พ.ศ. 2495 - 2519 กองจดหมายเหตุมีสถานที่ทำการอยู่ที่ตึกถาวรวัตถุ ถนนหน้าพระธาตุ
เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
เนื่องจากเอกสารที่ได้รับมอบมีจำนวนมหาศาล
ระหว่าง พ.ศ. 2495 - 2519
อยู่ในระหว่างการจัดหมวดหมู่เอกสารและการจัดทำบัญชีสืบค้น
จึงไม่ได้ให้บริการแก่บุคคลทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2519 ได้ย้ายที่ทำการใหม่มาอยู่ที่บริเวณหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี การจัดทำบัญชีสืบค้น
จัดหมวดหมู่เอกสาร และจัดทำเป็นไมโครฟิล์มเสร็จสิ้นเป็นบางส่วน
จึงทยอยเปิดให้บริการสืบค้นแก่ประชาชนตั้งแต่ พ.ศ. 2519 เป็นต้นมา และจัดทำบัญชีสืบค้นเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2530 จึงสามารถให้บริการเอกสารทั้งหมด
เอกสารจดหมายเหตุแห่งชาติถือเป็นเอกสารสำคัญยิ่งของประเทศและมีกฎหมายกำกับดูแล คือ
“พระราชบัญญัติจดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ.
2556”
ในการสืบค้นครั้งนี้
ค้นพบเอกสารที่สำคัญยิ่งคือ
เอกสารหนังสือกราบบังคมทูลซึ่งเป็นเอกสารว่าราชการแผ่นดินระหว่าง พ.ศ.
2427 - 2433 จัดเก็บในรูปแบบไมโครฟิล์มราว 80
ม้วน ที่ไม่มีบัญชีชื่อเรื่องและไม่มีผู้ขอสืบค้นมาก่อน
แต่ละม้วนเป็นสำเนาหนังสือกราบบังคมทูลในเรื่อง
450 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
ต่าง ๆ
ประมาณ 500
- 1,000 หน้า
รวมเป็นเอกสารว่าราชการแผ่นดินในสมัยตอนต้นรัชกาลที่ 5 จำนวนหลายหมื่นหน้า
และเป็นเอกสารสำคัญในช่วงของการปฏิรูประบบราชการแผ่นดินครั้งใหญ่
ทำให้สามารถอธิบายกำเนิดของระบบการแพทย์และสาธารณสุขแบบตะวันตกได้ครบสมบูรณ์
รวมทั้งอธิบายการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินด้านต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
นับเป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวงในการศึกษาค้นคว้าถึงเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นต่อไป
อันแสดงถึงพระปรีชาสามารถอย่างหาที่สุดมิได้ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงสนพระทัยและตัดสินพระทัยในการดำเนินการ
2. ราชกิจจานุเบกษา
ส่วนราชกิจจานุเบกษานั้น เป็น “ประกาศของทางราชการ”
เมื่อการว่าราชการที่แต่เดิมเป็นเรื่องภายใน
ดำเนินมาจนถึงจุดสำคัญที่จะต้องประกาศให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศรับทราบอย่างเป็นทางการ
พลตรี หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี
นักประวัติศาสตร์คนสำคัญของไทย กล่าวไว้ในคำนำหนังสือราชกิจจานุเบกษา
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 โดยสำนักพิมพ์ต้นฉบับ เมื่อ พ.ศ.
2540 ว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงใช้หนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นสื่อที่สำคัญอย่างหนึ่งในการแจ้งวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาและปฏิรูปราชการบ้านเมืองของพระองค์
ตลอดจนรายงานการปฏิบัติงานของทางราชการให้ประชาชนและชาวต่างประเทศได้รับรู้
เพื่อที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่แก่ทางราชการ
เกิดภาพลักษณ์ที่ถูกต้องแก่ประเทศไทย มีความเข้าใจในพระองค์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้
ราชกิจจานุเบกษานั้น
ยังเป็นแหล่งค้นคว้าเรื่องราวในทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ และถูกต้องที่สุด
3. ข้อจำกัดของเอกสาร
การชำระเอกสารจดหมายเหตุครั้งนี้มีข้อจำกัดหลายประการ
เช่น
1. เป็นการชำระและคัดเลือกเอกสารจดหมายเหตุแห่งชาติและราชกิจจานุเบกษามาใช้เพียงบางส่วน
เนื่องจากเอกสารชั้นต้นมีจำนวนมหาศาล
2. เป็นการคัดลอกข้อความสำคัญบางส่วน
เนื่องจากต้องการย่อรวมเอกสารทั้งหมดไว้ในหนังสือเล่มเดียว
ทำให้ผู้อ่านไม่เห็นข้อความทั้งหมด
อาจเกิดความเข้าใจไม่สมบูรณ์หรือตกหล่นข้อความที่น่าสนใจอื่น ๆ
3. เอกสารจดหมายเหตุแห่งชาติในสมัยรัชกาลที่
9 ยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ท่าวาสุกรี
เก็บเอกสารจดหมายเหตุสิ้นสุดราว พ.ศ. 2510ซึ่งเอกสารจดหมายเหตุในสมัยรัชกาลที่
9 จะเก็บรักษาอยู่ที่ “หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช”
และยังเก็บไว้ตามหน่วยงานราชการต่าง ๆ
ที่เก็บเอกสารไว้ในหน่วยงานตนเอง จึงยากต่อการสืบค้นในเวลานี้
อีกทั้งตลอดระยะเวลาทรงครองราชย์กว่า 70 ปีของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรนั้น
ทรงประกอบพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข
451 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
จำนวนมากและครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ
จึงเป็นชุดเอกสารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่จะต้องรวบรวมชำระเรียบเรียงแยกไว้ต่างหากในโอกาสอันเหมาะสมถัดไป
4. วิธีการอ่าน
การอ่านประมวลเอกสารในหมวดนี้
ควรอ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ ไปทีละเหตุการณ์ตามลำดับ วัน/เดือน/ปี ซึ่งผู้เขียนได้จัดเรียงลำดับไว้แล้ว เปรียบเสมือนการติดตามการบริหารราชการแผ่นดินที่ดำเนินไปในแต่ละปี
ซึ่งมีเรื่องราวสำคัญต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายและส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน
ทำให้การว่าราชการในบางปีเป็นไปอย่างรวดเร็ว บางปีล่าช้า
นอกจากนี้ทำให้ทราบสภาพปัญหา ที่ชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบราชการในลำดับต่อมา
ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก ทำให้ทราบวิธีการแก้ไขปัญหาราชการในอดีต
และพระปรีชาสามารถอย่างหาที่สุดมิได้ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ว่าทรงปฏิรูปประเทศไทยให้ทันสมัยทัดเทียมอารยประเทศได้อย่างไร
และสภาพปัญหารุมเร้าในรัชสมัยของพระองค์ที่เกิดขึ้นจากอิทธิพลต่างประเทศนั้น
มีพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
ร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการจนเหตุการณ์ลุล่วงไปได้อย่างไร
นับเป็นแนวทางที่พึงศึกษาเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง